พระราชดำรัส


.....
ใกล้วันพ่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2552 แล้ว
ผมเชื่อว่า ในปีนี้ พวกเราชาวไทยทุกคน
ต่างก็ร่วมใจกัน ขอพรให้ในหลวงของเรา ทรงหายประชวร
มีพระพลานามัยที่แข็งแรง เป็นมิ่งขวัญให้กับชาวไทยต่อไป
.....
ตั้งแต่ทรงครองราชย์ จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น
ในหลวงของพวกเรา ทรงมีพระบรมราโชวาท
และพระราชดำรัสกับปวงชนชาวไทย นานับประการ
ในการให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม
และทรงเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเราในทุกๆด้าน
.....
.....
ซึ่งหากเราใส่ใจและสนใจนำพระราชดำรัสมาปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันของพวกเราทั้งด้านความคิด
ด้านการงาน ครอบครัว และการใช้ชีวิตแล้ว ล่ะก้อ
เชื่อแน่ว่าจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นอย่างแน่นอน
.....
พระราชดำรัสของพระองค์ที่มอบให้แก่พวกเราชาวไทย
ในหลากหลายเรื่องนั้น ล้วนแล้วแต่มีคติสอนใจ
ที่อยากให้ทุกคนนำมาประพฤติปฏิบัติ
เพื่อความสุข ความสำเร็จ และความเจริญของเรา
เปรียบเสมือนเป็นคำสอนของพ่อที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า
.....
ต่อไปนี้จะเป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่พระองค์ได้ให้พระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ
ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นคนดีและการใช้ชีวิตในสังคม
ผมเชื่อว่า หลายๆพระบรมราโชวาทที่พระองค์มอบให้นั้น
พวกเราคงเคยได้ยินกันบ่อยๆ แต่จะมีใครรู้ไหมว่า
พระบรมราโชวาทนั้น เกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อใด
.....
คนดี
ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดี และคนไม่ดี
ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ
ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512
.....
อนาคตทำนายได้
ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้
ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล
และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้
จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก
คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้
แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ
ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง
ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง
คนเราโดยมากมักนึกว่า
อนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้
แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน
เพราอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519
.....
...
ความดี
การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ
เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่
และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ซโดยไม่ทันรู้สึกตัว
แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลัง
ในการสร้างเสริมและสะสมความดี
พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร  14 สิงหาคม 2525
.....
การทำงาน
เมื่อมีโอกาสและมีงานทำ
ควรเต็มใจทำโดยไม่จำเป็นต้องตั้งข้อแม้
หรือเงื่อนไขอันใด ไว้ให้เป็นเครื่องกีดขวาง
คนที่ทำงานได้จริงๆนั้น ไม่ว่าจะจับงานสิ่งใด
ย่อมทำได้เสมอ ถ้ายิ่งมีความเอาใจใส่
มีความขยัน และ ความซื่อสัตย์สุจริต
ก็ยิ่งจะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในงานที่ทำสูงขึ้น
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา 8 กรกฎาคม 2530
.....
คุณธรรมของคน
ประการแรก คือ ความซื่อสัตย์
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจฝึกใจตนเอง
ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม
ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต
ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต
และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
คุณธรรมสี่ประการนี้
ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงาม
จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น
และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไป
พระบรมราโชวาท ในพิธีบรวงสรวง
สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2535
.....
ความเพียร
ความเพียรที่ถูกต้องเป็นธรรม และพึงประสงค์นั้น
คือความเพียรที่จะกำจัดความเสื่อมให้หมดไป
และระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่ อย่างหนึ่ง
กับความเพียรที่จะสร้างสรรค์ความดีงาม
ให้บังเกิดขึ้นและระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป อย่างหนึ่ง
ความเพียรทั้งสองประการนี้
เป็นอุปการะอย่างสำคัญ ต่อการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน
ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดังกล่าว
ประโยชน์และความสุขก็จะบังเกิดขึ้นพร้อม
ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม
พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีกาญจนาภิเษก
ทรงครองราชย์ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539
.....
แก้ปัญหาด้วยปัญญา
ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้
ถ้ารู้จักคิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก
การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิดได้ด้วยลูกคิด หรือด้วยสมองกล
เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม
ก็ยังไมมีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด
สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
การขบคิดวินิจฉัยปัญหา จึงต้องใช้สติปัญญา
คือคิดด้วยสติรู้ตัวอยู่เสมอ
เพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด
และอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้น
ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆ
เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกัน
เป็นกระบวนการได้กระจ่างชัด ทุกขั้นตอน
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 สิงหาคม 2539
.....
...
ความพอเพียง
คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอมีกิน
เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้
ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง
แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาของตัวเอง
หมายความว่า สองขาของเรายืนบนพื้นให้อยู่ได้
ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
พอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้
แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
พระราชดำรัสพระราชทานอในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้า
ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
.....
นี่แหละครับ พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสส่วนหนึ่ง
ที่ในหลวงทรงประทานให้กับพวกเราชาวไทยทุกคน
ให้เรานำไปประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัว
..
เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป
..
ก็ขอให้พวกเราน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ
..
เลิกทะเลาะเบาะแว้ง
..
เลิกโกรธ เลิกเกลียด และทำร้ายกันเสียที เถิดครับ
..
ยึดมั่นในความดี ในความถูกต้อง
เป็นคนดีของครอบครัวและสังคม มีศีล มีธรรม
เพียงเท่านี้ ก็จะทำให้เราค้นพบความสุขในชีวิต ..ได้อย่างไม่ยาก


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
คนไทยสืบเชื้อคนดี  ชาติจึงมีความยืนยง
                พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน   จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่  ๒๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๒

                ในจิตใจของคนไทยทุกคน   มีเชื้อของความดี  ที่ได้นำพวกเราทั้งหลายมาอยู่ในฐานะที่มั่นคง
ที่ก้าวหน้า   ที่เจริญ   จนทุกวันนี้   ถ้าเราไม่มีความดีอยู่ในตัว  ก็เข้าใจว่า   ประเทศไทยคงไม่ได้มีอายุยืนนานเช่นนี้
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
ส่งเสริมคนดี   ให้ปกครองบ้านเมือง
                พระบรมราโชวาท   ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ   ครั้งที่ ๖
ณ    ค่ายลูกเสือวชิราวุธ   อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี   เมื่อวันที่   ๑๑  ธันวาคม   ๒๕๑๒
                สิ่งสำคัญในการปกครองก็คือ  บ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี  ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด      การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย     จึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี  หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี    ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง  และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ   ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้
สามัคคีและเข้าใจ   กองทัพไทยมีพลัง
พระราชดำรัส   พระราชทานแก่คณะนายทหาร   และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เข้าเฝ้าฯ  ถวายพระพรชัยมงคล
ณ    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน   เมื่อวันที่  ๖  ธันวาคม  ๒๕๒๐
กองทัพหรือกองกำลังของชาติ   ในแต่ละเหล่า   นอกจากส่วนราชการในเหล่านั้นจะมีมากก็ยังมีทั้งผู้ที่บังคับบัญชาชั้นสูง   ชั้นกลาง  ชั้นรอง  ลงมา     หมายความว่ายังประกอบด้วยกำลังพลไม่ใช่น้อย    ก็จะต้องมีความเข้าใจกันให้ดีเหมือนกันถ้ามีความสามัคคีปรองดองกันในด้านเหล่าต่างๆและภายในเหล่าต่างๆ    ทั้งการบังคับบัญชาที่พร้อมด้วยความไว้วางใจ   ก็จะไม่เป็นสิ่งยากที่จะรักษาเป้าหมายของการมีกำลังของชาติ
ยึดมั่นในชาติบ้านเมือง  มีอิสรภาพอธิปไตยสมบูรณ์ 
                พระราชทานแก่ทหารบก  ทหารเรือ  ทหารอากาศ  ตำรวจ  และอาสาสมัครพลเรือน 
ในพิธีตรวจพลสวนสนาม     เมื่อวันที่  ๘   มิถุนายน  ๒๕๑๔
                ถ้าทุกคนในชาติ  มีความยึดมั่นในบ้านเมือง   มีความเข้มแข็งพร้อมทั้งกายใจ   ก็จะสามารถร่วมกันทำงานของชาติได้โดยเต็มกำลัง   และชาติไทยของเราจะดำรงมั่น  มีความเจริญผาสุกและมีอิสรภาพ  อธิปไตยอันสมบูรณ์อยู่ตลอดไป
 พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
รอบรู้ทันสถานการณ์ เป็นประโยชน์ของชาติบ้านเมือง
                ในพิธีประดับยศและพระราชทานสัญญาบัตรยศแก่นายทหารชั้นนายพล   ณ    พระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน    เมื่อวันที่  ๑๗ มิถุนายน  ๒๕๒๖
                ขอให้ทุกคนหมั่นศึกษาวิทยาการอันก้าวหน้าทุกอย่างให้รอบรู้ทันสถานการณ์อยู่เสมอ  
เพื่อสามารถใช้ยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่  ให้เป็นประโยชน์ในภารกิจของกองทัพได้มากที่สุด   ประการสำคัญ   ขอให้ยึดมั่นในชาติบ้านเมืองและในประโยชน์ร่วมกันของประเทศชาติไทยให้ยิ่งกว่าประโยชน์อื่นใด
พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
รอบรู้ทันสถานการณ์ เป็นประโยชน์ของชาติบ้านเมือง
                ในพิธีประดับยศและพระราชทานสัญญาบัตรยศแก่นายทหารชั้นนายพล   ณ    พระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน    เมื่อวันที่  ๑๗ มิถุนายน  ๒๕๒๖
                ขอให้ทุกคนหมั่นศึกษาวิทยาการอันก้าวหน้าทุกอย่างให้รอบรู้ทันสถานการณ์อยู่เสมอ  
เพื่อสามารถใช้ยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่  ให้เป็นประโยชน์ในภารกิจของกองทัพได้มากที่สุด   ประการสำคัญ   ขอให้ยึดมั่นในชาติบ้านเมืองและในประโยชน์ร่วมกันของประเทศชาติไทยให้ยิ่งกว่าประโยชน์อื่นใด
พระราชดำรัส
  ใช้ความรู้คู่ความดี  จะมีความเจริญและความก้าวหน้า
พระราชดำรัส   พระราชทานแก่คณะชมรมผู้ค้าทราย   เมื่อวันที่  ๓   เมษายน  ๒๕๑๖
                ถ้าอยากได้ความเจริญ   ความก้าวหน้า   ความอยู่ดีกินดี   ก็จะต้องทำงานนั้นด้วยความสามารถเต็มที่   ด้วยความตั้งใจ   ด้วยความรู้ความบริสุทธิ์ใจ   สุจริตใจ
พระบรมราโชวาท
ผู้น้อยทำตามด้วยศรัทธา   หากผู้บังคับบัญชาเป็นตัวอย่างที่ดี
พระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในพิธีประดับยศนายทหารชั้นนายพล
ณ    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
เมื่อวันที่   ๒๒    มกราคม  ๒๕๑๓
                        …. การปฏิบัติหน้าที่ของท่าน   จะต้องพยายามที่จะทำด้วยความขะมักเขม้นเข้มแข็ง   เสียสละที่สุด    ในด้านการงานนั้น   ต้องทำให้เป็นผลสำเร็จในด้านบังคับบัญชา   ต้องทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเชื่อถือตามผู้บังคับบัญชา    เพราะถ้าผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตัวเป็นคนที่ดีที่เข้มแข็งแล้ว   ผู้ใต้บัญชาย่อมต้องเห็นเป็นตัวอย่าง    และไม่กล้าที่จะทำในสิ่งที่ไม่ชอบ       …
พระบรมราโชวาท  
ร่วมมือร่วมความคิด  ย่อมสัมฤทธิ์ทุกกิจการ…
พระบรมราโชวาท  พระราชทานแก่คณะบัณฑิตอาสาสมัคร   ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ   ณ    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน   เมื่อวันที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๕๑๖
          การพัฒนาประเทศก็ตาม    การพัฒนาตนเองก็ตาม   จำเป็นที่จะใช้ความร่วมมือ
เพราะว่าคนที่มีความรู้ในด้านวิชาการอย่างหนึ่ง   ไม่ใช่เป็นคนที่มีความรู้ทั่วทุกอย่าง   ต้องอาศัยซึ่งกันและกันต้องแลกเปลี่ยนความรู้ให้ซึ่งกันและกัน   เกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ไม่ใช่อยู่คนเดียว…
พระบรมราโชวาท
ผู้มีวินัย  ต้องจริงใจในการปฏิบัติ

                พระบรมราโชวาท  ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  โรงเรียนนายเรือ  และโรงเรียนนายเรืออากาศ    เมื่อวันที่  ๒๕  มีนาคม  ๒๕๒๔
                วินัยแท้จริงมีอยู่สองอย่าง  อย่างหนึ่งคือวินัยตามที่ทราบกันและถือกัน  อันได้แก่ข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้เป็นกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต่างๆ   ให้ถือปฏิบัติ   อีกอย่างหนึ่งคือวินัยในตนเองที่แต่ละคนจะต้องบัญญัติขึ้น  สำหรับควบคุมบังคับให้มีความจริงใจ  และให้ประพฤติปฏิบัติตามความจริงใจนั้นอย่างมั่นคง   มีลักษณะเป็นสัจจาธิษฐาณหรือการตั้งสัตย์สัญญาให้แก่ตัว   วินัยอย่างนี้จัดเป็นตัววินัยแท้  เพราะให้ผลจริงและแน่นอนยิ่งกว่าวินัยที่เป็นบทบัญญัติ   
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
สามัคคีเป็นไทย   สามัคคีไว้ชาติยืนยง
                พระบรมราโชวาท  พระราชทานสามัคคีสมาคม  ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเชิญไปอ่าน  ในการประชุมใหญ่ประจำปี  ครั้งที่ ๔๖   เมื่อวันที่  ๒ – ๑๐  สิงหาคม  ๒๕๑๒
                ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุด   เพราะเป็นมรดกที่เราได้รับสืบต่อจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารวมกันอยู่ได้  ให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้
ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง 
พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
ยึดมั่นในความดี   ชาติจะมีความถาวร

                พระราชดำรัส  พระราชทานแก่คณะกรรมการสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสงคราม  
เมื่อวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๑๘

                ถ้าท;  ถ้าทุกคนยึดมั่นว่า   เราต้องช่วยกัน   และต้องพยายามที่จะปฏิบัติงานของตน  ด้วยความซื่อสัตย์  สุจริต  ด้วยความตั้งใจดี   ด้วยความเอาใจใส่ดีในหน้าที่ของตน  เชื่อได้ว่า  ส่วนรวมจะอยู่ได้   อย่างมั่นคงและถาวรแน่ 
พระบรมราโชวาท บ้านเมืองจะสงบ   ถ้าเคารพต่อกฏหมาย

                พระบรมราโชวาท  พระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย 
ณ   พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน   เมื่อวันที่  ๖  ตุลาคม  ๒๕๑๒

                ผู้ที่มีหน้าที่ในทางกฎหมายจะช่วยประชาชนได้   เพราะกฎหมายนี้มีไว้สำหรับให้บ้านเมือง
มีความสงบเรียบร้อย   ทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องมีกฎเกณฑ์ถ้าประชาชนคือบุคคลที่ประกอบชาตินี้   มีความรู้พอ
ในกฎเกณฑ์ต่างๆ  ที่ได้วางเอาไว้ดี   ก็จะทำให้การปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  มีความสงบตามตัวบทกฎหมาย
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
ยอมสละชีวาตม์เป็นชาติพลี
                พระบรมราโชวาท    ณ   ภูพิงคราชนิเวศน์   เมื่อวันที่  ๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๑๓
                ผู้ใดสละชีวิตเป็นชาติพลี   เป็นวีรบุรุษผู้รักชาติรักบ้านเกิดเมืองนอนอย่างแท้จริง  และได้ทำหน้าที่ของคนไทยอย่างสมบูรณ์   ควรแก่การยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง  ทุกคนจักต้องรักษาเกียรติประวัติของผู้กล้าหาญเหล่านี้ไว้  และถือเอาเป็นแบบฉบับในการปฏิบัติงานเพื่อประเทศชาติตลอดสืบไป
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
พัฒนาคนเป็นรากฐาน  สร้างความเจริญและฐานะเศรษฐกิจ
                พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   
ณ   หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   เมื่อวันที่  ๑๘  กรกฎาคม  ๒๕๑๗

                การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น   ต้องสร้างพื้นฐาน  คือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน   โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด   แต่ถูกต้องตามหลักวิชา  เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว  จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
คนไทยสืบเชื้อคนดี  ชาติจึงมีความยืนยง
                พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน   จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่  ๒๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๒
                ในจิตใจของคนไทยทุกคน   มีเชื้อของความดี  ที่ได้นำพวกเราทั้งหลายมาอยู่ในฐานะที่มั่นคง
ที่ก้าวหน้า   ที่เจริญ   จนทุกวันนี้   ถ้าเราไม่มีความดีอยู่ในตัว  ก็เข้าใจว่า   ประเทศไทยคงไม่ได้มีอายุยืนนานเช่นนี้

 พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
วิชาการทันสมัย   ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

                พระบรมราโชวาท  ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน  พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์  ๒๖
ณ   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง  เมื่อวันที่  ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๒๖

                การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก  แล้วเลือกสรรส่วน
ที่สำคัญเป็นประโยชน์   นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา
เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่สิ้นเปลือง

พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
การเป็นคนดี   ทำให้มีความสุข
                พระราชดำรัส  พระราชทานแก่นักศึกษา  พ่อค้า  ประชาชน  องค์กรต่างๆ  
เมื่อวันที่  ๔  ธันวาคม  ๒๕๑๘
                ต้องการมีความสุขความสบาย   เราจึงต้องปฏิบัติในสิ่งที่จะทำให้มีความสุขความสบาย    คือ   สะสมความดี   สะสมบารมี
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
วิชาการทันสมัย   ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

                พระบรมราโชวาท  ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดงาน  พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศน์  ๒๖
ณ   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง  เมื่อวันที่  ๑๖  มิถุนายน  ๒๕๒๖

                การพยายามศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทุกสาขาจากทั่วโลก  แล้วเลือกสรรส่วน
ที่สำคัญเป็นประโยชน์   นำมาปรับปรุงใช้ให้พอดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศเรา
เพื่อช่วยให้ประเทศของเราสามารถนำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาใช้พัฒนางานต่างๆ   ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่สิ้นเปลือง
พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 
ทรัพยากรและแรงงาน  วิชาการช่วยสร้างชาติทวีความเจริญ
                พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  
ณ  วิทยาเขตเจ้าคุณทหาร  ลาดกระบัง   เมื่อวันที่   ๑๘  ตุลาคม  ๒๕๒๐
                การใช้หลักวิชาและความริเริ่มสร้างงานที่อาจดูไม่ใหญ่โตนัก แต่มีประสิทธิภาพสูง  
และอำนวยประโยชน์โดยตรงได้มาก โดยนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ  ความรู้ความสามารถ   ตลอดจน
แรงงานของคนส่วนใหญ่ให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย  และให้เกิดการเสียหาย  หรือความสูญเปล่า น้อยที่สุด 
การสร้างความเจริญในลักษณะนี้   จะช่วยสร้างเสริมความเจริญของกิจการส่วนรวมได้แน่นอน

รวมพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี พ.ศ. 2518-2552

หัวข้อ
Download
>> พระราชดำรัส 2499
>> พระราชดำรัส 2518
>> พระราชดำรัส 2519
>> พระราชดำรัส 2520
>> พระราชดำรัส 2521
>> พระราชดำรัส 2522
>> พระราชดำรัส 2523
>> พระราชดำรัส 2524
>> พระราชดำรัส 2525
>> พระราชดำรัส 2526
>> พระราชดำรัส 2527
>> พระราชดำรัส 2528
>> พระราชดำรัส 2529
>> พระราชดำรัส 2530
>> พระราชดำรัส 2531
>> พระราชดำรัส 2532
>> พระราชดำรัส 2533
>> พระราชดำรัส 2534
>> พระราชดำรัส 2535
>> พระราชดำรัส 2536
>> พระราชดำรัส 2537
>> พระราชดำรัส 2538
>> พระราชดำรัส 2539
>> พระราชดำรัส 2540
>> พระราชดำรัส 2549
>> พระราชดำรัส 2550
>> พระราชดำรัสเฉพาะวันที่ 4 ธันวาคม 2551
>> พระราชดำรัสเฉพาะวันที่ 5 ธันวาคม 2552


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น