พระราชกรณียกิจ

Posted Image
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราฎร ณ บริเวณวัดพระพุทธ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

Posted Image
เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเรือ บ้านดงน้อย ตำบลมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

Posted Image
เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมศูนย์ศึกษาพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Posted Image
ทอดพระเนตรอ่างเก็บห้วยนกเค้า ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

Posted Image
ทรงพระราชปฎิสันถารเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร์ ณ.หมู่บ้านบางโงแบกอ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

Posted Image

Posted Image
ทอดพระเนตรเครื่องมือในโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม ในระหว่างการเสด็จฯ เยี่ยมโครงการศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำร ตำบลกะลูวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

Posted Image
พระราชทาน กระแสพระราชดำรัสในการพระราชดำริ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินแก่เจ้าหน้าที่สถานีฯ ณ สถานทีทดลองเกษตรหลวงปางตะ ตำบลสะเมิงใจ้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Posted Image
ทรงพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำเข็ก(เขาค้อ) อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบรูณ์

Posted Image
ทอดพระเนตรแนวคลองส่งน้ำ ในระหว่างการเสด็จดำเนินไปทรงเยี่ยมโครงการอุทยานแห่งซาติดอยอินทนนท์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Posted Image
ทอดพระเนตรเรือนปักชำต้นแอปเปิล โดยใช้ระบบพ่นน้ำฝอยแบบตั้งเวลา ซึ่งประดิษฐ์ด้วยวัสดุพื้นบ้านอันเป็นกรรมวิธีขยายพันธ์ที่ง่ายกว่าการตอนกิ่ง ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงปางตะ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Posted Image
ทรงจดบันทึกประวัติและอาการบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่ทหารและอาสาสมัครที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศซาติ ณ โรงพยาบาลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบรูณ์

Posted Image
ทรงพระราชปฏิสันถารกับสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกระพง จำกัด ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยม และทอดพระโครงการตามพระราชดำริ ณ สหกรณ์การเกษตรหุบกระพง จำกัด อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

Posted Image
พระราชทานอุปกรณ์กีฬาแก่นักเรียน ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนาขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Posted Image
ทรงพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร บ้านบูเก๊ะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

Posted Image
มีพระราชปฎิสันถารกับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ระหว่างการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎร์บ้านกะเลปู ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

Posted Image
ทรงพระราชปฏิสันถารกับราษฎรชาวไทยภูเขาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้ากระหม่อมถวายของขวัญ ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมสถานีเกษตรหลวงอ่งขาง ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Posted Image
เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษำรบ้านสุโบะปาแระ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

Posted Image
ทอดพระเนตรแผนที่ระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการบ้านโคกกูแว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 




พระราชกรณียกิจด้านวิทยศาสตร์ - เทคโนโลยี

“ในหลวง” พระผู้ทรงบำบัดทุกข์-บำรุงสุขราษฎร์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตลอด ๖๐ ปีภายใต้ร่มฉัตรแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พสกนิกรชาวไทยต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและต่างรู้ซึ้งถึงพระอัจฉริยภาพรอบด้านของพระองค์ โครงการพระราชดำริหลายโครงการนอกจากจะแสดงถึงความห่วงใยของพระองค์ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยแล้ว ยังยืนยันถึงพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย
เนื่องในวโรกาสสำคัญแห่งการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี “ผู้จัดการวิทยาศาสตร์” ขอน้อมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านโครงการพระราชดำริที่สำคัญๆ ซึ่งทำให้คนไทยได้ประจักษ์ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถ่องแท้ และทรงปรับใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้อยู่ดีกินดีตามวิถีแห่งความพอเพียงตลอดมา


“ฝนหลวง” เย็นชุ่มฉ่ำหัวใจไทยมิรู้ลืม ข้อมูลฝนหลวง ประวัติฝนหลวง ตำราฝนหลวง พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับฝนหลวง พระบรมราโชบาย

“ฝนหลวง” เป็นโครงการสำคัญที่คนไทยรู้จักดี และเมื่อปี ๒๕๔๘ ที่เพิ่งผ่านไปนั้นฝนหลวงก็ได้เทลงมาให้หัวใจไทยชุ่มฉ่ำอีกครั้ง และช่วยชะล้างความทุกข์ในใจชาวไทยจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีในหลายพื้นที่ ซึ่งระดับน้ำในเขื่อนทั้ง ๑๓ แห่งทั่วประเทศลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต โดยผลจากการกู้ภัยแล้งด้วยโครงการหลวงก็สามารถบรรเทาวิกฤตดังกล่าวได้อย่างน่าพอใจ 
ทั้งนี้โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี ๒๔๙๘ และทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมแต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ จนกระทั่งมีการจัดตั้ง “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ซึ่งดำเนินงานฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
หลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย “ผงเกลือแป้ง” เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นในอากาศ จากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยในการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่โจมกลุ่มเมฆ โดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลดลง ทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝนในที่สุด
(อ่าน : “ฝนเทียมไทย” ไม่แพ้ใครในโลก ด้วยสูตรเฉพาะส่วนพระองค์) 



“แก้มลิง” กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง นอกจากปัญหาภัยแล้งแล้ว “น้ำท่วม” ก็เป็นอีกภัยธรรมชาติที่ทำให้น้ำตาไทยเอ่อล้น โครงการ “แก้มลิง” เป็นอีกโครงการที่ช่วยซับความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งดำเนินการโดยระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก
ทั้งนี้โครงการแก้มลิงเปรียบเหมือนการกินกล้วยของลิงซึ่งจะเก็บกล้วยไว้ที่แก้ม ก่อนจะค่อยๆ นำมาเคี้ยวและกินภายหลัง เมื่อนำมาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำมารวมกันไว้เป็นบ่อพักที่เปรียบได้กับแก้มลิง แล้วค่อยๆ ระบายน้ำลงทะเลเมื่อน้ำทะเลลดลง ผลจากดำเนินการโครงการดังกล่าวจึงช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นที่ลุ่มทำให้ระบายน้ำออกได้ล่าช้า




“กังหันน้ำชัยพัฒนา” ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน “กังหันน้ำชัยพัฒนา” คือเครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตร
ทั้งนี้แนวทางของการพัฒนามาจากสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่าจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบฯ ศึกษาและวิจัยร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องต้นแบบขึ้นในปี ๒๕๓๒ จากนั้นก็มีการพัฒนามาอีกหลายรุ่น และในปี ๒๕๓๖ กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย


(อ่าน : “กังหันชัยพัฒนา” วิดน้ำเสียเติมออกซิเจน “สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย”)



“เขื่อนดิน” อ่างเก็บน้ำที่ไม่ใช้คอนกรีต
เขื่อนดินเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินตามแนวพระราชดำริ ตัวเขื่อนนิยมก่อสร้างด้วยการถมดินและบดอัดจนแน่น สามารถส่งน้ำไปตามท่อส่งน้ำได้ เพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภค อีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กอย่างปลาและกุ้งน้ำจืดได้ นอกจากนี้เขื่อนดินยังเป็นปราการที่ไม่เพียงบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำหากแต่ยังป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย ส่วนความจุของปริมาณขึ้นอยู่กับความสูงของเขื่อน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งก็จะทรงปล่อยลูกปลา ลูกกุ้งเพื่อพระราชทานแก่ราษฎรในบริเวณนั้นให้มีแหล่งอาหารสำหรับบริโภค ทั้งนี้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก อาทิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยซับตะเคียน จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำคลองหลา จ.สงขลา รวมทั้งเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใน จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี ซึ่งเก็บน้ำได้มากถึง ๙๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร 



“ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ 
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้นการพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ ๙ เม.ย.๒๕๔๔
อีกทั้งในปี ๒๕๔๖ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้


(อ่าน : “แก๊สโซฮอล์-ไบโอดีเซล” รับวิกฤตพลังงาน พระราชดำริล่วงหน้ากว่า ๔๐ ปี) 



“แหลมผักเบี้ย-หนองหาร” โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัญหาที่ได้รับการแก้ไขด้วยโครงการพระราชดำริ โดยส่วนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น ๒ ส่วนคือระบบบำบัดหลักและระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน ๕ บ่อ โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้ายจะมีคณะวิจัยตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ 
ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย ๑.ระบบบึงชีวภาพ ซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถเจริญได้ดีในน้ำขังเสีย ดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น ๒.ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝก หญ้านวลน้อย หญ้ารูซี่ เป็นต้น โดยจะส่งน้ำเสียไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ และ ๓.ระบบกรองด้วยป่าชายเลน โดยในพื้นที่ป่าชายเลนจะปลูกโกงกาง แสมขาว เป็นต้น เพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติ น้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัดตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบัดน้ำเสียใน อ.เมือง จ.สกลนคร ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยได้ทรงทอดพระเนตรน้ำเสียบริเวณหนองสนม ข้างโรงงานผลิตน้ำประปา ซึ่งมีแนวทางแก้คือรวบรวมน้ำเสียมาระบายลงหนองหารเป็นจุดเดียวกัน เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติรวมกับการใช้เทคโนโลยีแบบประหยัด
น้ำเสียจากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อส่งและผ่านการบำบัดให้ดีในระดับหนึ่ง ก่อนส่งต่อไปยังแปลงพืชน้ำบำบัดแล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป สำหรับพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ธูปฤาษี กกเล็ก แพงพวยน้ำ บอน ผักตบชวา หญ้าปล้องละมาน เป็นต้น 


“แกล้งดิน” เร่งกำมะถันทำปฏิกิริยา ไล่หน้าดินเปรี้ยว
จากปัญหาดินเปรี้ยวในบริเวณป่าพรุที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีสารประกอบไพไรท์ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ทดลอง “แกล้งดิน” ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกำมะถันออกมา ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจากนั้นปรับปรุงดินด้วยการใช้น้ำร่วมกับปูนมาร์ลหรือปูนฝุ่นแล้วไถพลิกกลบดิน ความเป็นเบสของปูนจะทำให้ดินซึ่งเปรี้ยวจัดถูกกระตุ้นให้ “ช็อก” จึงปรับสภาพสู่สภาวะปกติ จนกระทั่งเพาะปลูกข้าวได้
การปรับพื้นที่และยกร่องก็เป็นวิธีระบายกรดบนหน้าดินอีกทางหนึ่ง ส่วนจะปลูกพืชชนิดใดนั้นต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น หากจะปลูกข้าวต้องปรับดินให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออก หากจะปลูกผักหรือพืชไร่อื่นให้ยกร่องและทำคูเพื่อป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับให้ดินเป็นกลาง หรืออาจจะใช้น้ำจืดชะล้างก็ได้แต่ใช้เวลานาน 



“หญ้าแฝก” รากฝังลึกอนุรักษ์หน้าดิน ด้วยระบบรากของ “หญ้าแฝก” ที่ฝังลึกไปในดินตรงๆ และแผ่กระจายเหมือนกำแพงจึงช่วยชะลอความเร็ว

ของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดิน ช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอนุกรักษ์ดิน เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชันหรือบริเวณเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดิน ปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม และยังใช้ปลูกป้องกันสารพิษปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ เป็นต้น
ผลจากการดำเนินงานตามพระราชดำริในการศึกษาให้ทราบพันธุ์และหาวิธีปลูกหญ้าแฝกที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ในพื้นที่ๆ ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้สมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดินนานาชาติ(International Erosion Control Association: IECA) มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ ๓๐ ต.ค.๒๕๓๖
ด้วยพระปรีชาสามารถซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยมากมายเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบถวายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย” เมื่อปี๒๕๔๓ และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงอำนวยการสาธิตฝนหลวงครั้งแรกให้เป็น “วันเทคโนโลยีไทย”
นอกจากนี้พระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่คนในวงการวิทยาศาสตร์ควรจะน้อมนำเป็นแบบอย่างและแนวทางเพื่อการพัฒนางานที่อยู่สู่การพัฒนาประเทศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น